10/11/58

นิยามของ Remote Sensing

Lillesand et al. (2004; หน้า 1)
ได้ให้นิยามไว้ว่า “Remote sensing is the science and art of obtaining information about an object, area, or phenomenon through the analysis of data acquired by a device that is not in contact with the object, area, or phenomenon under investigation.”
ซึ่งมีความหมายว่า รีโมทเซนซิง คือ วิทยาศาสตร์และศิลปะในการหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ พื้นที่และปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล โดยไม่ต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆกับพื้นที่ และปรากฏการณ์ที่ต้องการจะศึกษานั้น

Japan Association an Remote Sensing (1993, หน้า 2)
ได้นิยาม Remote Sensing ไว้ว่า “Remote Sensing is defined as the science and Technology by which the characteristics of objects of interest can be identified measured or analyzed the characteristics without direct contact.  Electro-magnetic radiation which is reflected or emitted from an object is the usual source of remote sensing data.  However any media such as gravity or magnetic field can be utilized in remote sensing.  A device to detect the electro-magnetic radiation reflected or emitted from an object is called a “remote sensing” or “sensor”.  Cameras or scanners are examples of remote sensors.
ความหมายคือ "รีโมทเซนซิง เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่งที่ใช้จำแนก หรือวิเคราะห์คุณลักษณะของวัตถุต่าง ๆ โดยปราศจากการสัมผัสวัตถุโดยตรง อาศัยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สะท้อนหรือแผ่ออกจากวัตถุเป็นต้นกำเนิดของข้อมูลรีโมทเซนซิง อย่างไรก็ดีตัวกลางอื่น ๆ เช่น ความโน้มถ่วง หรือสนามแม่เหล็ก ก็อาจนำมาใช้ในการสำรวจจากระยะไกลได้เช่นกัน เครื่องมือที่ใช้วัดค่าพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนหรือแผ่ออกจากวัตถุ เรียกว่า "รีโมทเซนซิง" หรือ "เครื่องรับรู้ (เซนเซอร์)" ตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายภาพ และ เครื่องกราดวิเคราะห์

ทธินี ดนตรี. (2544, หน้า 2-1)
ได้ให้ความหมาย รีโมทเซนซิงหรือการสำรวจระยะไกล ไว้ว่า รีโมทเซนซิง ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ “remote” หมายถึง “ระยะไกล” และ “sensing” หมายถึง “การสัมผัสหรือการรับรู้” ถ้าตีความตามศัพท์ หมายถึง การรับรู้ข้อมูลในระยะไกลโดยผ่านเครื่องมือซึ่งผู้รับรู้ไม่ได้สัมผัสกับวัตถุนั้นๆ โดยตรง
จากความหมายกว้างๆ นี้ การถ่ายภาพทิวทัศน์โดยกล้องถ่ายรูป การส่องกล้องจุลทรรศน์ตรวจดูเชื้อโรค การถ่ายภาพถ่ายทางอากาศจากเครื่องบิน การฉายรังสี X-ray เพื่อตรวจสอบสุขภาพของร่างกาย ฯลฯ จึงจัดเป็นงานทางรีโมทเซนซิงทั้งหมด
สำหรับรีโมทเซนซิงในวิชาภูมิศาสตร์มีความหมายเฉพาะมากขึ้น โดยมีความหมายถึงการหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งอยู่ไกลจากเครื่องมือที่ใช้วัดหรือใช้บันทึก โดยที่เครื่องมือเหล่านั้นไม่ได้สัมผัสกับสิ่งของ หรือเป้าหมายดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้วัดบันทึกข้อมูล เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องวัดรังสีค่าสะท้อน เครื่องวัดคลื่นความร้อน เครื่องกวาดภาพ เลเซอร์ เครื่องคลื่นวิทยุ ฯลฯ โดยติดตั้งไปกับเครื่องบิน ยานอากาศ ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่ถูกส่งไปอยู่เหนือพื้นผิวโลกในระยะทางไกลมาก จนสามารถมองเห็นบริเวณที่ต้องการศึกษาได้ในบริเวณกว้าง แล้วทำการรับและบันทึกข้อมูลในรูปของสัญญาณของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) ซึ่งเป็นพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุต่าง ๆ ที่พื้นผิวโลกที่แพร่กระจายออกไป (emission) สู่อวกาศ แล้วนำเอาสัญญาณนั้นมาแปลงเป็นข้อมูลในเชิงตัวเลข (digital data) ที่มีการปรับแก้ค่าความผิดพลาดต่าง ๆ แล้วสามารถนำมาวิเคราะห์ศึกษาวัตถุต่าง ๆ ในบริเวณที่ศึกษา ทั้งในการจำแนกประเภท การศึกษาลักษณะทั้งทางกายภาพและคุณลักษณะ และแสดงผลได้ทั้งในรูปภาพพิมพ์ (hard copy) หรือข้อมูลเชิงตัวเลข รีโมทเซนซิงจึงจัดเป็นทั้งศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และทางศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุต่างๆบนพื้นผิวโลก โดยไม่มีการสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นโดยตรง

สุรชัย รัตนเสริมพงศ์. (2536, หน้า 89)
ได้ให้ความหมายของการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล (Remote Sensing) ไว้ว่า เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้อาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น (Spectral), รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นผิวโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า

วนิตา เผ่านาค. (2533, หน้า 3)
ได้สรุปไว้ว่า Remote Sensing คือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาไม่ว่าจะเป็นสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ สิ่งก่อสร้าง ปรากฏการณ์ต่างๆ การเก็บข้อมูลนี้อาศัยปรากฏการณ์ต่างที่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ากระทำขึ้น และจะต้องอาศัยเครื่องมือในการเก็บข้อมูลนั้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสระหว่างเครื่องมือและเป้าที่ต้องการจะศึกษา




อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล / ภาพประกอบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น