การรับรู้จากระยะไกลมีประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
1.) การพยากรณ์อากาศ
กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อพยากรณ์ปริมาณและการกระจายของฝนในแต่ละวัน
โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมที่โคจรรอบโลกด้วยความเร็วเท่ากับการหมุนของโลกในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้คล้ายกับเป็นดาวเทียมคงที่ (Geostationary) เช่น ดาวเทียม
GMS (Geostationary Meteorological Satellite)
ส่วนดาวเทียมโนอา
(NOAA) ที่โคจรรอบโลกวันละ 2 ครั้ง
ในแนวเหนือ - ใต้
ทำให้ทราบอัตราความเร็ว
ทิศทาง
และความรุนแรงของพายุที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าหรือพยากรณ์ความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้นได้
2.) สำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เนื่องจากข้อมูลจากดาวเทียมมีรายละเอียดภาคพื้นดิน และช่วงเวลาการบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน
จึงใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่การใช้ประโยชน์จากที่ดินและการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี เช่น
พื้นที่ป่าไม้ถูกตัดทำลาย
แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นใหม่
หรือชุมชนที่สร้างขึ้นใหม่
เป็นต้น
ในบางกรณีข้อมูลดาวเทียม
ใช้จำแนกชนิดป่าไม้ พืชเกษตร
ทำให้ทราบได้ว่าพื้นที่ป่าไม้เป็นป่าไม้แน่นทึบ โปร่ง
หรือป่าถูกทำลาย
พืชเกษตรก็สามารถแยกเป็นประเภทและความสมบูรณ์ของพืชได้ เช่น
ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ยางพารา
ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกการเจริญเติบโตได้อีกด้วย
3.) การสำรวจทรัพยากรดิน
ข้อมูลจากดาวเทียมและรูปถ่ายทางอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสำรวจและจำแนกดิน
ทำให้ทราบถึงชนิดการแพร่กระจาย และความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงจัดลำดับความเหมาะสมของดินได้ เช่น
ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด
ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เป็นต้น
4.)
การสำรวจด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐานวิทยา
เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมครอบคลุมพื้นที่กว้าง
มีรายละเอียดภาคพื้นดินสูงและยังมีหลายช่วงคลื่นแสง จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่ใช้ในการสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา แหล่งแร่
แหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ
และแหล่งน้ำใต้ดินได้เป็นอย่างดี
โดยการใช้ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาช่วยทำให้การสำรวจและขุดเจาะเพื่อหาทรัพยากรใต้ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายการสำรวจในภาคสนามลงได้เป็นอันมาก
5.)
การเตือนภัยจากธรรมชาติ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่
อุทกภัยแผ่นดินถล่ม ภัยแล้งวาตภัย ไฟป่า
ภัยทางทะเล ภัยธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้
เมื่อนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะเป็นประโยชน์ในการเตือนภัยก่อนที่จะเกิดภัย ขณะเกิดภัย
และหลังเกิดภัยธรรมชาตินอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
ประโยชน์ของการรับรู้จากระยะไกล ยังใช้ในการสำรวจด้านอื่นๆอีก เช่น
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการจราจร ด้านการทหาร
ด้านสาธารณสุข เป็นต้น
สรุปประโยชน์ของการรับรู้จากระยะไกล REMOTE SENSING
การใช้เทคนิค REMOTE SENSING ช่วยให้การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง
ทำได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องออกเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง และยังให้ความถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้
นอกจากนี้บริเวณซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สามารถแสดงผลออกทางจอภาพ
และจัดทำแผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงไปใช้งานได้ทันที ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมาก
ทำให้การศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น ทรัพยากร ปลูกสร้าง ฯลฯ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น