ความยาวคลื่นและความถี่คลื่น มีความสัมพันธ์กันแบบผกผัน คือ ถ้าความยาวคลื่นมากความถี่จะน้อย ความยาวคลื่นมีหน่วยวัดเรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer, m m.) หรือไมครอน (Micron) ซึ่งเท่ากับ 0.000001 ม. หรือ10-6 ม. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แบ่งออกได้ตามความยาวของคลื่นที่ เรียกว่า ช่วงคลื่น (Band) ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่มีความยาวสั้นที่สุด คือรังสีคอสมิค(Cosmic ray) มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-10 ไมครอน จนถึงช่วงคลื่นวิทยุที่มีความยาวคลื่นหลายกิโลเมตร สำหรับคุณสมบัติของช่วงคลื่น ประกอบไปด้วยช่วงคลื่นตามลำดับของความยาวดังนี้ รังสีแกมม่า รังสีเอ็กซ์ อุลตราไวโอเล็ต รังสีช่วงที่ตามองเห็น อินฟราเรดไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ ช่วงคลื่นที่ใช้ประกอบในการสำรวจข้อมูลระยะไกลส่วนใหญ่อยู่ใน ความยาวคลื่นเชิงแสง (Optical Wavelength) คือ 0.34 -14 ไมครอน ซึ่งสามารถถ่ายภาพและบันทึกภาพด้วยฟิล์มถ่ายรูปและอุปกรณ์บันทึกภาพ (Sensor) ช่วงคลื่นที่มีผลตอบสนองต่อตาของมนุษย์คือ 0.3-.07 ไมครอน แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ น้ำเงิน เขียว และแดง ถัดไปเป็นช่วงคลื่นใต้แดง (Infrared) แบ่งเป็น 2 ช่วงกว้างๆ คือ อินฟราเรดช่วงใกล้ (Near Infrared) หรือ อินฟราเรดที่สะท้อนแสงระหว่าง 0.7 – 3 ไมครอน และอินฟราเรดช่วงความร้อนระหว่าง 3 -15 ไมครอน
ภาพความยาวช่วงคลื่นและความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของดวงอาทิตย์และโลก
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum) เป็นพลังงานต่อเนื่องที่มีค่าความยาวของช่วงคลื่น ตั้งแต่หลายเมตรถึงเศษส่วนของพันล้านเมตร (Nanometer; 10-9 ม.) ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะแผ่พลังงานไปตาม
ทฤษฎีของคลื่น (Wave Theory) ที่มีการเคลื่อนที่แบบ ฮาร์โมนิค(Harmonic) มีช่วงซ้ำและจังหวะเท่ากันในเวลาหนึ่ง
มีความเร็วเท่าแสง (c) ระยะทาง จากยอดคลื่นถึงยอดคลื่นถัดไปเรียกว่าความยาวคลื่น
(l ) และจำนวนยอดคลื่นที่เคลื่อนผ่านจุดคงที่จุดหนึ่งต่อหน่วยเวลา
เรียกว่า ความถี่คลื่น ( f ) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันตามสมการ
l = c / f
โดย l = ความยาวคลื่น
(mm.)
c = ความเร็วของแสง
(มีค่าคงที่= 3 x 108 ม. / วินาที)
f = ความถี่ของคลื่น
(รอบ / วินาทีหรือ Hertz)
ภาพแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ความยาวช่วงคลื่นและความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
อยู่กับอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิ 6,000 K จะแผ่พลังงานในช่วงคลื่นแสงมากที่สุด วัตถุบนพื้นโลกส่วนมากจะมีอุณหภูมิประมาณ
300 K จะแผ่พลังงานช่วงอินฟราเรดความร้อนมากสุด
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศจะถูกโมเลกุลอากาศ และฝุ่นละอองในอากาศดูดกลืน
และขวางไว้ทำให้คลื่นกระเจิงคลื่นออกไป คลื่นส่วนที่กระทบถูกวัตถุจะสะท้อนกลับ
และเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศมาตกสู่อุปกรณ์วัดคลื่น
เนื่องจากวัตถุต่างๆ มีคุณสมบัติการสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ช่วงคลื่นต่างๆไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงสามารถใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสำรวจจากระยะไกลได้ รูปต่อไปนี้แสดงลักษณะการสะท้อนแสงเปรียบเทียบระหว่างวัตถุต่างชนิดกันที่ช่วงคลื่นต่างกัน ความสามารถในการสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆบนพื้นโลกสามารถสรุปได้ดังนี้
• น้ำสะท้อนแสงในช่วงแสงสีน้ำเงินได้ดี และดูดกลืนคลื่นในช่วงอื่นๆ และให้สังเกตว่าน้ำจะดูดกลืนคลื่น IR ช่วง 0.91 mm ในช่วงนี้ได้ดีมาก
• ดินสะท้อนแสงในช่วงคลื่นแสงได้ดีทุกสี
• พืชสะท้อนแสงช่วงสีเขียวได้ดี และสะท้อนช่วงอินฟราเรดได้ดีกว่าน้ำและดินมาก
ตารางแสดงความยาวช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ
ช่วงคลื่น
|
ความยาวช่วงคลื่น
|
รายละเอียด
|
รังสีแกมม่า
(Gamma ray)
|
< 0.03 ไมครอน
|
รังสีแกมม่าถูกดูดซึมทั้งหมดโดยบรรยากาศชั้นบน
จึงไม่ได้ใช้สำรวจระยะไกล
|
รังสีเอ็กซ์
(X-ray)
|
0.03 - 3.1 ไมครอน
|
รังสีเอ็กซ์เรย์ถูกดูดซึมทั้งหมดโดยชั้นบรรยากาศเช่นกัน
|
รังสีเหนือม่วงหรือรังสีอุลตราไวโอเลต
(Ultraviolet)
|
0.03 - 0.4 ไมครอน
|
ช่วงคลื่นสั้นกว่า
0.3 ไมครอน ถูกดูดซึมทั้งหมดโดยโอโซน (O3 ) ในบรรยากาศชั้นบน
|
ช่วงคลื่นไวโอเลตภาพถ่าย
(Photographic UV band)
|
0.3 - 0.4 ไมครอน
|
ช่วงคลื่นสามารถผ่านชั้นบรรยากาศ สามารถถ่ายภาพด้วยฟิล์มถ่ายรูปแต่การ
ชั้นบรรยากาศเป็นอุปสรรคมาก
|
ช่วงคลื่นตามองเห็นได้
(Visible)
|
0.4 - 0.7 ไมครอน
|
บันทึกภาพด้วยฟิล์มและอุปกรณ์บันทึกภาพได้
รวมทั้งช่วงคลื่นที่โลกมีการ
0.4-0.5 ไมครอน น้ำเงิน
0.5-0.6 ไมครอน สีเขียว
0.6-0.7 ไมครอน สีแดง
|
อินฟราเรด
(Infrared)
|
0.7 - 100 ไมครอน
|
มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุตามความยาวคลื่นและการผ่านชั้นบรรยากาศ
มีการดูดซึม
ในบางช่วงคลื่น
|
ช่วงคลื่นอินฟราเรดชนิดสะท้อน
(Reflected IR band)
|
0.7-3.0 ไมครอน
|
สะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับช่วงความร้อนของวัตถุช่วง
คลื่น
0.7-0.9 ไมครอน สามารถถ่ายรูปด้วยฟิล์มเรียกว่าช่วงคลื่นอินฟราเรด
|
ช่วงคลื่นอินฟราเรดชนิด
ความร้อน
(Thermal IR band)
|
3-5 ไมครอน
8-14 ไมครอน
|
การบันทึกภาพต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น
ตัวกวาดตรวจ (scanners) ไม่สามารถ
บันทึกภาพได้ทั้งระบบ
active และpassive
|
คลื่นสั้น
(Microwave)
|
0.1-30 cm
|
ช่วงคลื่นยาวสามารถทะลุผ่านหมอกและฝนได้บันทึกภาพได้ทั้งระบบ
active
|
เรดาร์
(Radar)
|
0.1-3.0 cm
|
ระบบ active มีความยาวช่วงคลื่นต่างๆ เช่น Ka band (10 mm), X band (30มม.) และ L band (25 ซม.)
|
วิทยุ
(Radio)
|
> 30 cm
|
ช่วงคลื่นที่ยาวที่สุด บางครั้งมีเรดาร์อยู่ในช่วงนี้ด้วย
|
เมื่อพลังงานจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุผ่านชั้นบรรยากาศ
มาตกกระทบพื้นผิวโลกจะเกิดปฏิกิริยาหลักขึ้น 3 อย่างคือ
• การสะท้อนพลังงาน (Reflection)
• การดูดกลืนพลังงาน (Absorption)
• การส่งผ่านพลังงาน (Transmission)
การสะท้อนพลังงาน (Reflection) เป็นปฏิกิริยาที่สำคัญที่สุด
เพราะ Remote
Sensing ส่วนมากจะบันทึกพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุ
• ช่วงที่ตามองเห็น
0.4-0.7 micron
• ช่วงอินฟราเรด 0.7-3.0
micron ซึ่งจะแปรผันตามองค์ประกอบดังนี้
-
ลักษณะพื้นผิววัตถุ
-
สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบข้าง (สภาพอากาศ, ภูมิประเทศ,
อุณหภูมิ)
-
มุมตกกระทบของแสง
-
ความสามารถและอัตราการสะท้อนแสงของพื้นผิวผิววัตถุ
พลังงานที่ตกกระทบและสะท้อนกลับเกิดขึ้นได้
3 แบบ
1. การสะท้อนกลับหมดในทิศทางตรงกันข้าม (Specular reflector)
• พื้นผิววัตถุมีลักษณะราบเรียบ
• พลังงานที่ตกกระทบมีช่วงคลื่นยาว ทำให้ภาพที่ปรากฏมีลักษณะค่อนข้างเรียบ
• มุมที่พลังงานสะท้อนกลับจะเท่ากับมุมที่ตกกระทบวัตถุโดยเทียบกับแกนตั้งฉากบนระนาบเดียวกัน
ภาพการสะท้อนกลับหมดในทิศทางตรงกันข้าม
2. การสะท้อนแบบกระจาย (Diffuse or Lambertain reflector)
• พื้นผิววัตถุ มีลักษณะขรุขระ
• พลังงานที่ตกกระทบกับวัตถุจะมีช่วงคลื่นสั้นกว่าความสูงของพื้นผิววัตถุ
หรือความขรุขระของวัตถุ
• มีการสะท้อนพลังงานหลายทิศทางที่มีการกระจายแบบสม่ำเสมอ
ภาพการสะท้อนแบบกระจาย
3. การสะท้อนพลังงานแบบผสม (Scattering)
• เกิดกับวัตถุตามธรรมชาติ เช่น
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระทบกับอนุภาคที่อยู่ในอากาศ (ก๊าซ, ไอน้ำ)
• มีลักษณะการสะท้อนแบบสะท้อนกลับหมดในทิศทางตรงกันข้ามและการสะท้อนแบบกระจายผสมอยู่ซึ่งการสะท้อนพลังงานในลักษณะนี้
จะมีทิศทางไม่แน่นอน
ภาพการสะท้อนพลังงานแบบผสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น