10/11/58

คำศัพท์เกี่ยวกับ Remote Sensing


1.  Electro-magnetic radiation 
Electro-magnetic radiation  คือ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งการถ่าย เทพลังงาน จากแหล่งที่มีพลังงานสูง  ทั้งจากดวงอาทิตย์และจาก Flatform แผ่รังสีออกไปรอบๆ โดยมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ ความยาวคลื่น โดยอาจวัดเป็น nanometer (nm) หรือ micrometer (mm) และ ความถี่คลื่น (f) ซึ่งจะวัดเป็น hertz (Hz) โดยคุณสมบัติทั้งสองมีความสัมพันธ์ผ่านค่าความเร็วแสง ในรูป c = fl  ซึ่ง  ความยาวคลื่นและความถี่จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  คือ  ถ้ามีความยาวคลื่นมาก  ความถี่ก็จะน้อย  และในทางกลับกันถ้าความยาวคลื่นสั้น ความถี่จะสูง

2.  Spectrum/spectral/Visible light/Infrared/microwave
Spectrum  คือ  ปรากฏการที่ได้จากการแยกรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกเป็นความถี่  ต่าง ๆ  หรือความยาวคลื่นต่าง ๆ  ที่อยู่ในรังสีนั้น  สำหรับรังสีของแสงที่ตามองเห็นได้  Spectrum  จะปรากฏเป็นสีต่าง ๆ เมื่อให้แสงสว่างส่องผ่านแท่งแก้วปริซึม สเปกตรัมที่เกิดจากวัตถุเปล่งรังสีได้  เรียกว่า  สเปกตรัมเปล่งรังสี  (Emission  Spectrum)
Spectral  คือ  ความแตกต่างกันทางด้านคลื่นรังสี ของวัตถุจะแสดงให้เห็นในรูปของสีต่างๆ เช่น การที่เราเห็นวัตถุเป็นสีเขียว เนื่องจากวัตถุนั้นสะท้อนพลังงานในช่วงคลื่นสีเขียวมาก
Visible light  คือ ช่วงคลื่นที่ใช้ประกอบในการสำรวจระยะไกลส่วนใหญ่อยู่ในความยาวคลื่นเชิงแสง (Optical Wavelength) คือ 0.34-14 ไมครอน ซึ่งสามารถถ่ายภาพและบันทึกภาพด้วยฟิล์มถ่ายรูป และอุปกรณ์บันทึกภาพ (Sensor) ช่วงคลื่นที่มีผลตอบสนองต่อตาของมนุษย์ คือ 0.3-.07 ไมครอน แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ น้ำเงิน เขียว และแดง
Infrared   คือ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิรตซ์ หรือความยาวคลื่น 10-3 – 10-6 เมตร เรียกว่า รังสีอินฟราเรด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลื่นความถี่สั้น (Millimeter waves)ซึ่งจะมีย่านความถี่คาบเกี่ยวกับย่านความถี่ของคลื่นไมโครเวฟอยู่บ้างวัตถุร้อน จะแผ่รังสีอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า 10-4 เมตรออกมา ประสาทสัมผัสทางผิวหนังของมนุษย์สามารถรับรังสีอินฟราเรด  ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี โดยไม่ต้องใช้ตัวกลางนำพาความร้อนเหมือนเช่นระบบอื่น เช่น Heater ใช้ลมในการนำพาความร้อนและ Infrared ยังเป็นพลังงานบริสุทธิ์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษอีกด้วย  มีความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ที่ใช้อยู่ สามารถจำแนกได้ดังนี้   
Infrared Short wave ,  Infrared Medium wave and  Infrared Long wave
Microwave  คือ  ช่วงคลื่นไมโครเวฟ (Microwave remote sensing) เป็นการบันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นช่วงคลื่นที่อยู่ระหว่าง 1 มิลลิเมตร - 1 เมตร ซึ่งช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นยาวสามารถทะลุผ่านเมฆ,หมอกควันฝุ่น และฝน ทำให้สามารถนำมาใช้ในการสำรวจได้ในทุกสภาพอากาศ   ช่วงคลื่นไมโครเวฟนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบรรยากาศโลกพื้นดิน และมหาสมุทร

            Remote Sensing ช่วงคลื่นไมโครเวฟ แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ
           - ไมโครเวฟชนิดพาสซีฟ อุปกรณ์วัดจะรับคลื่นพลังงานไมโครเวฟที่เปล่งออกมาโดยตรงจากวัตถุบนพื้นผิว โลก อุปกรณ์วัด Passive Microwave ได้แก่ Microwave Radiometer เป็นต้น
                        - ไมโครเวฟชนิดแอกตีฟ อุปกรณ์วัดจะส่งคลื่นไมโครเวฟลงไปยังวัตถุบนพื้นผิวโลก และจะรับคลื่นพลังงานจากการกระจัดกระจายกลับจากวัตถุนั้น ๆ อุปกรณ์ Active Microwave ได้แก่ Synthetic Aperture Radar (SAR), Microwave Scatterometer, Radar Altimeter เป็นต้น

3.  Spectral Reflectance/Spectral signat
Spectral Reflectance  คือ การสะท้อนคลื่นรังสี หรือ คุณสมบัติการสะท้อนแสงของวัตถุ  กล่าวคือการนำเอาค่าสะท้อนแสงมา plot เป็นโค้งหรือ profile curve แล้วเปรียบเทียบค่าสะท้อนแสงวัตถุมาตรฐาน  ถ้ารูปโค้งไหนคล้ายกับรูปโค้งมาตรฐาน ก็ตีความได้ว่า วัตถุนั้นเป็นวัตถุรูปโค้งตามมาตรฐาน
Spectral signature  คือ ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของวัตถุบนพื้นผิวโลกใด ๆ ทำให้เกิดคุณสมบัติของความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและวัตถุบนพื้นผิวโลก 4 ประการ
1) วัตถุต่างชนิดจะมีปฏิสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแตกต่างกัน – กล่าวคือ ที่ช่วงคลื่นเดียวกัน อาคารสิ่งปลูกสร้างกับพืช จะมีปฏิสัมพันธ์กับช่วงคลื่นนั้นแตกต่างกัน
2) วัตถุชนิดเดียวกันจะมีปฏิสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างชนิดกันแตกต่างกัน – กล่าวคือ พืชจะมีปฏิสัมพันธ์กับช่วงคลื่นของ    พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต่างกันนั้นไม่เหมือนกัน
3) ลักษณะปฏิสัมพันธ์ของวัตถุชนิดเดียวกันกับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงเวลาและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ย่อมจะมีลักษณะที่   แตกต่างกัน – เช่น ต้นข้าวที่ต่างวัย คือ ต้นอ่อน และที่กำลังออกรวง ย่อมมีลักษณะปฏิสัมพันธ์กับคลื่นที่ไม่เหมือนกัน
4) วัตถุชนิดเดียวกันจะมีปฏิสัมพันธ์กับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสดงในรูปเส้นกราฟมีลักษณะเฉพาะตัว เรียกว่า “ลายเส้นเชิงคลื่น” หรือ “Signature” ซึ่งใช้ประโยชน์ในการตีความและจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกจากกัน

4.  Wavelength/band
Wavelength  คือ  ความยาวคลื่น  คือ ระยะทางที่คลื่นไปได้ในช่วงเวลาของ 1 คาบ แทนด้วย บางทีความยาวคลื่นคือระยะจากระหว่างจุด 2 จุดที่อยู่ถัดกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน เช่น จากจุด C ถึง C หรือจากจุด D ถึง D / ลักษณะที่เหมือนกัน เรียกว่า มีเฟสตรงกัน (inphase)
Band  คือ  ความยาวของคลื่นที่เรียกว่า ช่วงคลื่น (Band) คือ การแบ่งสเปคตรัมออกเป็นช่วงแคบๆ จำนวนมากแต่ละช่วงจะเรียกว่าแบนด์ (band) หรือช่อง (channel) ซึ่งจะเรียกตามสี (ในกรณีที่มองเห็นได้) หรือชื่อของช่วงแสงนั้น (เช่น อินฟราเรด) หรือช่วงของความยาวคลื่น ข้อมูลนี้จะถูกประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพหรือใช้เป็นข้อมูลสำหรับโปรแกรมวิเคราะห์ภาพ  

5.  Digital number/intensity/grey level
Digital number คือ การใช้ค่าความเข้มของแสงที่วัดได้ซึ่งเรียกว่า Digital Numbers (DNs) ที่จะมีค่าสัมพันธ์กับความเข้มของแสงที่สะท้อนหรือเปล่งออกมาในแบนด์ของอุปกรณ์รับรู้นั้น ค่า DNs เป็นตัวเลขจำนวนเต็มซึ่งในที่นี้มีค่าระหว่าง 0-255 ระดับของสีเทาในภาพเริ่มตั้งแต่สีดำ (DN=0) ไปจนถึงสีขาว (DN=255) ซึ่งค่าของ DN ที่เพิ่มขึ้นจะแสดงด้วยสีเทาดำไปจนถึงสีเทาอ่อนจนเป็นสีขาวเมื่อDN=255
Intensity คือ ความเข้มของสี (Intensity) คือค่าที่ใช้ระบุว่าสีนั้นมีความเข้มมากเท่าใด ถ้าค่า Intensity มีค่ามากขึ้นก็จะทำให้สีที่ได้มีส่วนประกอบของสีขาวมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าค่านี้มี ค่าน้อยลงก็จะทำให้สีที่ได้มีส่วนประกอบของสีดำมากขึ้นเช่นกัน
grey level  คือ  ระดับเทา ที่มีความสามารถแสดงสีได้ถึง 256 สี โดยจะไล่สีได้ตั้งแต่ สีดำ สีเทา และสีขาวตามลำดับ โดยสีแต่ละสีจะเกิดจากขนาดแสงที่ตกกระทบบนรูปภาพ เรียกขนาดแสงที่ตกกระทบนี้ว่า ความเข้มแสง ( Intensity )

6.  Atmosphere/Atmospheric effect/ Atmospheric  window
Atmosphere คือ   อากาศที่อยู่รอบตัวเรา รวมทั้งที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ  1,000  กิโลเมตร  บรรยากาศอยู่โดยรอบ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่สามารถมองหรือสังเกตได้ มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์
Atmospheric effect  คือ  เมื่อพิจารณาที่บรรยากาศของของหมอกยามเช้าที่ผมบรรยายข้างต้น จะเห็นว่าสิ่งที่ทำให้บรรยากาศมีสีสันก็คือบรรยากาศของหมอก (Fog) เมื่อยืนอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของหมอกบางครั้งหมอกจะบดบังเอาวัตถุต่างๆ ที่มีอยู่ให้หายไปเบื้องหลังสายหมอก ในทาง 3 มิติเรียกว่าหมอก (Fog) และเมื่อตะวันมาเยือน หมอกจะเริ่มจางหาย วัตถุที่อยู่หลังหมอกจะปรากฏให้เราเห็นลางๆ ในทาง 3 มิติเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า Transparency effect หรือ alpha bending)ซึ่งในกรณีนี้อาจจะเรียกได้ว่าหมอกเป็นสิ่งที่มีความโปร่งใส (Transparency) ค่าความโปร่งใสนี้หากมีมากก็จะทำให้มองวัตถุที่ถูกวางไว้หลังวัตถุที่มีความโปร่งใสนี้ได้ เช่น มองเห็นวัตถุที่วางไว้ด้านหลังของกระจกใสมากกว่าวัตถุที่ซ่อนตัวอยู่หลังหมอก ทั้งนี้เพราะกระจกมีคุณสมบัติของ Transparency มากกว่าหมอกเป็นต้น
 Atmospheric window   คือ การที่ช่วงคลื่นสามารถทะลุทะลวง หรือผ่านชั้นบรรยากาศลงมาที่ผิวโลกได้เรียกว่า หน้าต่างบรรยากาศ    (Atmospheric Window) ซึ่งมีหน้าต่างบรรยากาศในช่วงความยาวคลื่นตามองเห็น  (0.3-0.7 m m) และช่วงอินฟราเรดสะท้อนกับอินฟราเรดช่วงความร้อน ช่วงของหน้าต่างบรรยากาศเหล่านี้จะมีประโยชน์ ต่อการพัฒนาเลือกระบบอุปกรณ์บันทึกภาพในสัมพันธ์กับการสะท้อนของช่วงคลื่นต่าง ๆ

7.  Feature/Object
Feature  คือ  สภาพทางภูมิศาสตร์  หรือ  วัตถุที่ปรากฏบนพื้นโลก  เมื่อจะนำมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล GIS  จะต้องแทนด้วยสัญลักษณ์ที่เหมาะสม  เช่น จุด เส้น  และอาณาบริเวณ  และต้องมีการอ้างอิงพิกัดที่ถูกต้อง

Object คือ วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ บนโลก   ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่  ฯลฯ Object  จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ 
            1. Property หรือ คุณสมบัติเฉพาะตัวและเมธอด(Method) เพื่อใช้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดกับออบเจ็คนั้นๆ
            2. Method หรือ ความสามารถในการทำงานจะทำงานก็ต่อเมื่อมีอีเวนต์(Event)ใดๆเกิดขึ้น จะไม่ทำโดยพลการเด็ดขาด เช่นอีเวนต์คลิกปุ่ม Change Icon…”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น