11/11/58

องค์ประกอบและหลักการของ Remote Sensing

องค์ประกอบที่สำคัญของการสำรวจจากระยะไกล ได้แก่ คลื่นแสงที่เป็นพลังงาแม่เหล็กไฟฟ้าที่บันทึกได้ด้วยเครื่องรับสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น จากดวงอาทิตย์ หรือเป็นพลังงานที่ยานสำรวจสร้างขึ้นเอง โดยระบบการสำรวจระยะไกลอาศัยพลังงานแสงธรรมชาติ เรียกว่า ระบบ Passive Remote Sensing ” เช่น ระบบดาวเทียมสำรวจทรัพยากร Landsat และ SPOT  ส่วนระบบที่มีแหล่งพลังงานที่สร้างขึ้น และส่งไปยังวัตถุเป้าหมาย และรับพลังงานที่สะท้อนกลับมาสู่เครื่องมือรับสัญญาณบันทึกไว้ เรียกว่า ระบบ Active Remote Sensing ” เช่น ระบบเรดาร์ 


องค์ประกอบของกระบวนการสำรวจข้อมูลระยะไกล
สารสนเทศ (Information) ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และการบริหารทรัพยากรต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลระยะไกล มาจากสองกระบวนการหลัก คือ การรับข้อมูลและบันทึกสัญญาณข้อมูล (Data Acquisition)  และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) 
1.) การรับข้อมูลและบันทึกสัญญาณข้อมูล (Data acquisition) โดยอาศัยแหล่งกำเนิดพลังงาน คือ ดวงอาทิตย์แผ่พลังงานผ่านชั้นบรรยากาศ เป็นปฏิสัมพันธ์ของพลังงานกับรูปลักษณ์ของพื้นผิวโลก โดยพลังงานส่วนที่เหลือจะสะท้อนกลับ และถูกบันทึกโดยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลบนอากาศยาน (Airborne Sensor) หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลบนยานอวกาศ (Spaceborne Sensor) ที่ส่งข้อมูลกลับมายังสถานภาคพื้นดิน เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบภาพ (Pictorial Form) และรูปแบบเชิงตัวเลข (Digital Form)
2.) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) ประกอบด้วยการแปลข้อมูลภาพด้วยสายตา (Visual Interpretation) แลการวิเคราะห์เชิงตัวเลข (Digital Analysis) ด้วยคอมพิวเตอร์




หลักการสำรวจข้อมูลระยะไกล
การสำรวจจากระยะไกล ( Remote sensing) เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่ใช้ในการ บ่งบอก จำแนก หรือ วิเคราะห์คุณลักษณะของวัตถุต่าง ๆ โดยปราศจากการสัมผัสโดยตรง
Remote sensing เป็นศัพท์เทคนิค ที่ใช้เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2503 ซึ่งมีความหมายรวมถึง การทำแผนที่ การแปลภาพถ่าย ธรณีวิทยาเชิงภาพถ่าย ฯลฯ
การใช้คำรีโมตเซนซิงเริ่มแพร่หลายนับตั้งแต่ได้มีการส่งดาวเทียม LANDSAT-1 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกขึ้นในปี พ.ศ.2515 พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อน หรือแผ่ออกจากวัตถุ เป็นต้นกำเนิดของข้อมูลที่สำรวจจากระยะไกล
นอกจากนี้ตัวกลางอื่นๆ เช่น ความโน้มถ่วง หรือสนามแม่เหล็ก ก็อาจนำมาใช้ในการสำรวจจากระยะไกลได้เช่นกัน
เราสามารถหาคุณลักษณะของวัตถุได้ จากลักษณะการสะท้อนหรือการแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุนั้น คือวัตถุแต่ละชนิดจะมีลักษณะการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไป ถ้าวัตถุหรือสภาพแวดล้อมเป็นคนละประเภทกัน การสำรวจจากระยะไกลจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำแนก และเข้าใจวัตถุ หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ จากลักษณะเฉพาะตัวในการสะท้อนแสงหรือแผ่รังสี

อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล/ภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น