11/11/58

วิวัฒนาการของการสำรวจระยะไกลด้วยดาวเทียม

       การพัฒนาเทคโนโลยีของการสำรวจระยะข้อมูลไกลไม่ใช่สิ่งใหม่ได้ใช้กันในทางปฏิบัติมาเป็น
เวลานานแล้ว จากหลักฐานพบว่าได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้มาในสองยุคคือก่อนยุคอวกาศ (ก่อนปี2503)
และยุคอวกาศ (หลังปี2503) ในช่วงเวลานี้ก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคแรกและ
ยุคที่สอง

ก่อนยุคอวกาศ
                วิชาการสำรวจระยะข้อมูลไกลได้พัฒนามาจากการใช้ภาพถ่าย ซึ่งนำมาใช้ในการสำรวจทรัพยากร
และสำรวจภูมิประเทศ และเมื่อมีเครื่องบินก็ได้มีการถ่ายรูปทางอากาศจากเครื่องบิน ในสงครามโลกครั้งที่ 1
และ ครั้งที่ 2 การพัฒนาการถ่ายรูปทางอากาศมีมากเพื่อกิจการทหารและความปลอดภัยของประเทศ ทำให้
การพัฒนาการสำรวจระยะไกลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์สำหรับการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆด้วย การใช้รูปถ่ายทางอากาศและการวิเคราะห์ภาพในยุคนั้น ใช้การแปลด้วยสายตาและใช้กุญแจการแปลภาพช่วยในยุคนั้น ยังไม่มีการนำเอาการทำงานแบบสหวิทยาการมาประยุกต์ใช้เพราะต่างคนต่างทำในสาขาที่ตนถนัดแต่ก็ได้ผลดี นอกจากนี้ยังไม่มีแนวความคิดในการทดแทนธรรมชาติ และการป้องกันภาวะแวดล้อมที่เสียหาย เพราะไม่มีข้อมูลระดับโลกเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

ยุคอวกาศ
                การพัฒนาด้านอวกาศ ทำให้มีการส่งดาวเทียมออกไปโคจรรอบโลก มีการปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ในการบันทึกข้อมูล จึงทำให้ได้ข้อมูลหลายชนิดและหลายช่วงเวลา มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในกรรมวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือเครื่องใช้จึงสลับซับซ้อนขึ้น มีการนำเอาหลักการทำงานแบบสหวิทยาการในหลายสาขาวิชามาใช้มากขึ้น มีความนึกคิดที่ให้มีการทดแทนทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น แต่แม้ว่าจะมีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และยานอวกาศแล้วก็ตาม การใช้กล้องถ่ายภาพและใช้เครื่องบินก็ยังคงมีต่อไป และใช้ได้กับความจำเป็นเฉพาะเรื่อง ความต้องการข้อมูลระดับโลกมีมากขึ้นแต่รูปถ่ายทางอากาศมีขีดจำกัด จึงทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีจากอวกาศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว


ดาวเทียม  คือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นไปโครจรรอบโลก เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การรายงานสภาพอากาศ หรือเพื่อการลาดตระเวนทางทหาร ดาวเทียมเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะทำหน้าที่ในการสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวอื่นๆ รวมถึงวัตถุประหลาดต่างๆ ในกาแลคซี่หรือระบบสุริยจักรวาล
ตั้งแต่โลกเราได้มีการประดิษฐ์คิดค้นดาวเทียมขึ้นมาใช้งาน ก็ทำให้โลกเกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์อย่างมากมาย หลายองค์กรและหลายๆประเทศต่างมีการเข้าร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ชาติ โดยแบ่งออกเป็นช่วงๆ ดังนี้           
ดาวเทียมก่อนทศวรรษที่ 60
ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "Sputnik" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร Sputnik ทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้น ไอโอโนสเฟีย ในปีพ.ศ.2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซีย และ สหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขันกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้น
ดาวเทียมในทศวรรษที่ 60
                ช่วงทศวรรษนี้เป็นช่วงการเฟื่องฟูของดาวเทียมสำหรับมนุษยชาติ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1960
สหรัฐได้ส่งดาวเทียม Echo 1 ขึ้นไป ทำหน้าที่ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสู่โลกได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เชื่อได้ว่า
การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นในเดือนเมษายนปีเดียวกัน สหรัฐก็ได้
ส่งดาวเทียม TIROS 1 ขึ้นไปสู่อวกาศ ดาวเทียม TIROS 1 เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศดวงแรกที่ได้ส่ง
ภาพถ่ายกลุ่มเมฆหมอกกลับมายังโลก จากนั้นกองทัพเรือสหรัฐได้พัฒนาดาวเทียมหาตำแหน่งดวงแรกที่ได้
ถูกส่งขึ้นไปโคจรในเดือนเมษายน ปีค.ศ.1960 และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้พัฒนาดาวเทียมเป็นจำนวน
มากกว่า 100 ดวงถูกส่งขึ้นไปโคจรแทนที่กันในแต่ละปี
ดาวเทียมในทศวรรษที่ 70
                ช่วงทศวรรษที่ 70 ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเกิดขึ้นในโลกของดาวเทียม อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ถูกนำมาใช้ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เหล่านั้นล้วนถูกทำขึ้นมาจากการใช้คอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีในการผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างดาวเทียม
 ดาวเทียมในทศวรรษที่ 80
                ช่วงทศวรรษที่ 80 ดาวเทียมได้ถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือมนุษย์มากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2525  Palapa B-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อการช่วยเหลือมนุษย์ดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโดยบรรทุกไปกับยานขนส่งอวกาศ Challenger
 ดาวเทียมในทศวรรษที่90
                ในช่วงทศวรรษที่ 90ดาวเทียมถูกใช้งานไปอย่างกว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่งานธรรมดาทั่วไป
เช่น บริษัท TRW Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนธรรมดา ได้มีการวางแผนที่จะสร้างระบบดาวเทียมที่ครอบคลุม
เครือข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบนี้เรียกว่า "Odyssey" ซึ่งได้ถูกใช้ในธุรกิจโทรคมนาคม ดาวเทียม
ของ TRW จะเน้นให้บริการในเขตพื้นที่สำคัญ เหมือนกับว่ามันได้ครอบคลุมโลกทุกส่วนไว้เป็นหนึ่งเดียว
ฉะนั้น บริษัทจึงคาดหวังว่าจะสร้างกำไรงามๆ จากธุรกิจดาวเทียมโทรคมนาคมเหล่านี้ เป็นวิวัฒนาการที่
เกิดขึ้นและถูกพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา
 ดาวเทียมหลังทศวรรษที่90
                หลังทศวรรษที่90 จนถึงศตวรรษที่ 21 ดาวเทียมยังคงถูกพัฒนาประสิทธิภาพ และขีดความสามารถต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม

พัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
การสำรวจทรัพยากรโลกด้วยดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ได้วิวัฒนาการจากการได้รับภาพถ่ายโลก ภาพแรกจากการส่งสัญญาณภาพของดาวเทียม Explorer VI ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2502 ตั้งแต่นั้นมา การสำรวจโลกด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ได้มีการพัฒนาเป็นลำดับทั้งระบบบันทึกข้อมูล และอุปการณ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างมากมาย วิวัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
LANDSAT เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรก ที่ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เมื่อ พ.ศ. 2515
ประโยชน์ที่ได้รับ (ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ)
         - ด้านการสำรวจพื้นที่ป่าไม้
         - ด้านการเกษตร
         - ด้านการใช้ที่ดิน
         - ด้านธรณีวิทยา เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ หาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในดิน
         - ด้านอุทกวิทยา เพื่อศึกษาสภาพและแหล่งน้ำ ทั้งบนดินและใต้ดิน ฯลฯ




ภาพดาวเทียม LANDSAT และ ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT

พัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทย
ปี 1981 การติดตั้งสถานีภาคพื้นดินรับสัญญาณจากดาวเทียม Landsat ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
เป็นสถานีภาคพื้นดินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ปี 1997 ดาวเทียมไทพัฒ ดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรก เพื่อการศึกษาด้านการสำรวจทรัพยากรเข้าสู่วงโคจร
ปี 2004 โครงการสำรวจทรัพยากรของไทย THEOS โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและฝรั่งเศส
ปี 2008 ส่งดาวเทียม THEOS ขึ้นสู่อวกาศ

            "ธีออส"  เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หนัก 750 กิโลกรัม โคจรเหนือพื้นผิวโลก 822 กิโลเมตร ตัวดาวเทียม ประกอบด้วย ส่วนหลัก คือ
                1. อุปกรณ์ถ่ายภาพ            
                2. ส่วนควบคุมสนับสนุนการทำงานของดาวเทียมสามารถบันทึกภาพ ขาว-ดำ รายละเอียดภาพ 2 เมตร บันทึกภาพสี รายละเอียดภาพ 15 เมตร
หน้าที่หลัก คือ ถ่ายภาพสำรวจทรัพยากร ส่วนการนำมาประยุกต์ใช้งานขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านภัยพิบัติ ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่บันทึกก่อนเหตุการณ์จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันการเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม เพลิงไหม้ เป็นต้น



ภาพดาวเทียมธีออส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น